ความเป็นมาของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน

คําว่า “สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) เป็นศัพท์บัญญัติที่ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นําระบบสหกิจศึกษาเข้ามาใช้ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2536 โดยเริ่มนํามาใช้จัดการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีต่อมาแนวคิดเกี่ยวกับการจัดสหกิจศึกษาจึงได้เริ่มเป็นที่รู้จักและขยายไปสู่สถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในยุคแรก เช่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ต่อมาใน พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น(นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้ประกาศนโยบายให้การสนับสนุนแก่สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาสหกิจศึกษาทําให้มีสถาบันอุดมศึกษาตระหนักและเริ่มนําสหกิจศึกษามาจัดการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น จวบจนปัจจุบันสหกิจศึกษา ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและขยายสู่ระดับชาติ โดยมีสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นภาคีสําคัญของภาครัฐทําหน้าที่ดูแลด้านนโยบายและให้การสนับสนุนด้านการเงิน การดําเนินงานสหกิจศึกษาในช่วงเริ่มต้นอยู่ในรูปของทวิภาคี คือ มีเพียงสถานศึกษาร่วมมือกับสถานประกอบการ โดยภาครัฐมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง หากแต่มีหน่วยงานภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าไทยที่ได้ให้การสนับสนุนการดําเนินงานสหกิจศึกษา ต่อมาใน พ.ศ. 2545 การดําเนินงานสหกิจศึกษา ได้พัฒนาเข้าสู่ลักษณะพหุภาคี กล่าวคือ มีหน่วยงานหลายภาคส่วนร่วมกันรับผิดชอบดําเนินงานสหกิจศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาสถานประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมวิชาการในประเทศไทย สมาคมสหกิจศึกษาไทย (Thai Association for Cooperative Education-TACE) และสมาคมสหกิจศึกษาโลก (WorldAssociation for Cooperative คู่มือ สหกิจศึกษาสําหรับนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา 4 Education – WACE) นับว่าการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มีภาคีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทครบทุกภาคส่วนในลักษณะเครือข่ายพหุภาค

วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน

1) เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาด้านการพัฒนาอาชีพ (Career Development) พร้อมเสริมทักษะและประสบการณ์ให้พร้อมเข้าสู่ระบบการทํางาน
2) เพิ่มเติมประสบการณ์ด้านวิชาการวิชาชีพและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาในรูปแบบที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
3) ให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาผ่านนักศึกษาสหกิจศึกษาและอาจารย์นิเทศ เพื่อนําไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
5) ฝึกนักศึกษาให้รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสถานประกอบการ การเป็นผู้นําและผู้ตามที่เหมาะสม
6) เผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตต่อบุคคลและสถาบันต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอก