สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
(Cooperative and Work Integrated Education: CWIE)
คืออะไร
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) หมายถึง การจัดการศึกษาเชิงประสบการณ์ (Experiential Education) อิงฐานสมรรถนะ (Competencies – based) ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันออกแบบและร่วมพัฒนา (Co-design) โดยให้นักศึกษาได้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กับการไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ (Workplace) เพื่อให้นักศึกษามีสมรรถนะพร้อมสูโลกแห่งการทำงานจริงได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา (Ready to Work)
ความเป็นมาของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
หลักเกณฑ์ในการกำหนดหน่วยกิตหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
หลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา โดยต้องสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และต้องกำหนดหน่วยกิตในการไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ตามระบบทวิภาคทั้งนี้ 1 หน่วยกิต ต้องมีการปฏิบัติงานจริงไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
2) เพิ่มเติมประสบการณ์ด้านวิชาการวิชาชีพและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาในรูปแบบที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
3) ให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาผ่านนักศึกษาสหกิจศึกษาและอาจารย์นิเทศ เพื่อนําไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
5) ฝึกนักศึกษาให้รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสถานประกอบการ การเป็นผู้นําและผู้ตามที่เหมาะสม
6) เผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตต่อบุคคลและสถาบันต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอก
ประโยชน์ของสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
1. สําหรับนักศึกษา
– ได้รับประสบการณ์วิชาชีพตามสาขาวิชาที่นอกเหนือไปจากการเรียนในห้องเรียน
– เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การทํางานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบ และมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการ
– ส่งผลให้มีผลการเรียนดีขึ้นภายหลังการปฏิบัติงานเนื่องด้วย มีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น
จากประสบการณ์การปฏิบัติงานจริง
– เกิดทักษะการสื่อสารข้อมูล
– ได้รับค่าตอบแทนในระหว่างการปฏิบัติงาน
– สามารถเลือกสายอาชีพได้ถูกต้องเนื่องจากได้รับทราบความถนัดของตนเองมากขึ้น
– สําเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพในการทํางานและมีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสําเร็จการศึกษา
2. สําหรับมหาวิทยาลัย
– เกิดความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการ
– ได้ข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน
– ช่วยให้สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับจากตลาดแรงงาน
– ผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
3. สําหรับสําหรับสถานประกอบการ
– มีนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานตลอดปี
– พนักงานประจํามีเวลาที่จะทํางานได้มากขึ้น
– มีโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถานศึกษา
– เกิดภาพพจน์ที่ดีด้านการส่งเสริมการศึกษา